โปรแกรม Adobe Illustrator และวิธีการใช้งาน
Illustrator คือ โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ โดยจะสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้น หรือที่เรียกว่า Vector Graphic จัดเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในการออกแบบระดับสากลสามารถทำงานออกแบบต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เว็บ และภาพเคลื่อนไหวตลอดจนการสร้างภาพเพื่อใช้เป็นภาพประกอบในการทำงานอื่นๆ เช่น การ์ตูน ภาพประกอบหนังสือ เป็นต้น
การประมวลผลภาพกราฟฟิกของคอมพิวเตอร์
ในความเป็นจริงแล้วภาพกราฟฟิกที่เก็บในคอมพิวเตอร์นั้น จะมีวิธีการประมวลผลภาพ 2แบบแตกต่างกันไปตามแต่ละโปรแกรมดังนี้ คือ
1. การประมวลผลแบบอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างเช่น รูปล้อรถจักรยาน ถ้าเป็นการเก็บแบบเว็กเตอร์ เครื่องจะเก็บข้อมูลที่เป็นสูตรทางคณิตศาสตร์แต่สามารถอธิบายได้คือ รูปล้อจักรยาน คือเส้นวงกลมที่เกิดจากการวัดความห่างจากจุดศูนย์กลางจุดหนึ่งไปยังบริเวณรอบๆ ด้วยระยะห่างทีเท่ากัน โดยมีสีและตำแหน่งของสีที่แน่นอน ฉะนั้นไม่ว่าเราจะมีการเคลื่อนย้ายที่หรือย่อขยายขนาดของภาพ ภาพจะไม่เสียรูปทรงในเชิงเลขาคณิต เช่น โปรแกรม Illustrator ใช้วิธีนี้ในการเก็บ เป็นต้น
ตัวอย่างงานกราฟฟิกของภาพแบบเวกเตอร์งานกราฟฟิกในแบบเวกเตอร์นี้จะเป็นลักษณะของภาพลายเส้น ซึ่งงานเหล่านี้จะเน้นถึงความ คมชัดของเส้นเป็นหลัก เช่น ภาพโลโก้ ตราบริษัท และภาพลายเส้นแบบคลิปอาร์ต โปรแกรมเหล่านี้ได้แก่ Illustrator, CorelDraw และ Freehand เป็นต้น
2. การเก็บและแสดงผลแบบบิตแม็พ [ Bitmap ]
เป็นการประมวลผลแบบอาศัยการอ่านค่าสีในแต่ละพิกเซล ซึ่งเหมาะกับภาพที่มีโทนสีที่ใกล้เคียงกัน เช่น ภาพถ่าย โปรแกรม Photoshop ใช้วิธีนี้ การประมวลผลแบบบิตแม็พนี้เราเรียกอีกอย่างว่า Raser image เป็นการเก็บข้อมูลดิบ คือค่า 0 และ 1 ใช้การแสดงผลเป็นพิกเซล โดยแต่ละพิกเซลจะมีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่ง
Illustrator ทำอะไรได้บ้าง
>>งานสิ่งพิมพ์
ไม่ว่าจะเป็นงานโฆษณา โบร์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร เรียกได้ว่าเกือบทุกสิ่งพิมพ์ที่
ต้องการความคมชัด
>>งานออกแบบทางกราฟฟิก
การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM และการออก
แบบการ์ดอวยพร ฯลฯ
>>งานทางด้านการ์ตูนในการสร้างภาพการ์ตูนต่างๆนั้น โปรแกรม Illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการ
วาดรูปได้เป็นอย่างดี
>>งานเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
ใช้สร้างภาพตกแต่งเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็น Background หรือปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่องตลอดจน
ภาพประกอบต่างๆ ที่ปรากฎบนหน้าเว็บ
หน้าจอโปรแกรม Illustrator
หน้าจอของโปรแกรม Illustrator จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ
ซึ่งมีหน้าที่การใช้งานแตกต่างกันออกไปดังนี้
แถบเมนูคำสั่ง (Menu bar)
แถบเมนูคำสั่ง (Menu
bar) เป็นเมนูคำสั่งหลักของโปรแกรม Illustrator แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ
ดังนี้
File: เป็นหมวดของคำสั่งที่จัดการเกี่ยวกับไฟล์และโปรแกรมทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นการ เปิด-ปิดไฟล์ การ บันทึกไฟล์ การนำภาพเข้ามาใช้ (Place)
ตลอดจนการออกจากโปรแกรม (Exit)
Edit: เป็นหมวดของคำสั่งที่จัดการแก้ไข
เช่น Undo Cut Copy Paste Select รวมทั้งการกำหนดคุณสมบัติ
ต่างๆ ที่มีผลต่อการปรับแต่งภาพด้วย
เช่นการสร้างรูปแบบ (Define Pattern) การกำหนดค่าสี (Color Setting) เป็นต้น
Type: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้จัดการตัวหนังสือ เช่น Fonts Paragraph เป็นต้น
Select: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้ในการเลือกวัตถุ สามารถเลือกด้วยคุณสมบัติได้
เช่น เลือกวัตถุที่มี Fill และ Stroke แบบเดียวกัน
วัตถุที่อยู่บน Layer เดียวกัน
เป็นต้น
Filter: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพ
โดยจะมีผลต่อรูปร่างของ Path
Effect: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพคล้าย Filter แต่จะไม่มีผลกับรูปร่างของ PathView: เป็นหมวดของคำสั่งเกี่ยวกับ
การมองทุกสิ่งในงาน เช่น Zoom Show/Hide Ruler Bounding Box Outline
Mode/Preview Mode เป็นต้น
Window: เป็นหมวดของคำสั่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดหน้าต่างเครื่องมือต่างๆ
เช่น Palette Tool Box เป็นต้น
Help: เป็นหมวดที่รวบรวมวิธีการใช้งานและคำแนะนำเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้โปรแกรม
กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
เป็นส่วนที่เก็บรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง
การปรับแต่งและการแก้ไขภาพ
คอนโทรลพาเนล (Control Panel)
เป็นแถบตัวเลือกสำหรับกำหนดค่าต่างๆ ของวัตถุ
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ให้สามารถกำหนดค่าสี ขนาด ตำแหน่ง
และคุณสมบัติต่างๆ ของวัตถุที่เลือกได้ง่ายขึ้น
พี้นที่การทำงาน (Artboard)
เป็นบริเวณที่เราใช้วางวัตถุเพื่อสร้างชิ้นงาน
ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากนั้น (Scratch area) เป็นบริเวณที่เราวางวัตถุแต่ไม่ต้องการให้แสดง
ในชิ้นงานใช้เพื่อพักวัตถุ หรือเผื่อไว้ใช้ในภายหลัง
พาเนลควบคุมการทำงาน (Panel)
เป็นหน้าต่างย่อยที่รวบรวมคุณสมบัติการทำงานของเครื่องมือต่างๆ
ให้เราเลือกปรับแต่งการใช้งานได้ง่ายๆ ไม่ต้องเปิดหาแถบคำสั่ง
ซึ่งพาเนลจะถูกจัดเก็บไว้ในกรอบจัดเก็บพาเนลด้านขวาของหน้าจอ